วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนารามเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีศิลปะแบบพม่า วิหารสีทองของวัดมีผนังสีแดงประดับด้วยลวดลายแกะสลักสีทอง ด้านหน้าวิหารยังมีประติมากรรมนูนต่ำรูปหงส์คู่ และบนกำแพงล้อมรอบวิหารยังมีประติมากรรมนูนต่ำรูปหงส์คู่อยู่โดยรอบ ตามตำนานที่เล่าถึงเมืองหงสาวดี ที่วัดยังมีวิหารพระมหามุนี ที่ฐานหลังคาประดับด้วยเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเล็กๆ จำนวนมากภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามุนี ซึ่งจำลองมาจากเมืองมัณฑะเลย์ สหภาพเมียนมาร์ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปมีชีวิตจึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ทุกเช้า

ข้อมูลวัดไทยวัฒนาราม บนแผ่นศิลา

 นะโม วิกชชวาทิโม มหาการุณิก      (แผ่นที่1)

วัดใหญ่เเม่ตาว ต.ท่าสายลวด อ.เเม่สอด จ.ตาก 

         การเกิดขึ้นและการสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระมหาเณระ ท่านหลวงพ่อปัณฑิจจะ

ชาติกาล เกิดเมื่อวันขึ้น๙ ค่ำ เดือน๑๑ ปี จ.ศ. ๑๒๘๒ ตรงกับพ.ศ. ๒๕๓๖ ปีวอก โทศกอธิกมาส วันอังคารที่ ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยน ๑๘.๓๐ น. ปกติวาร ปกติสุรทิน บิดามารดา บิดาบังเกิดเกล้าคือ นายขุนแก้ง มารดาคือ นางแก้ว หมู่บ้านแหม่งกะเล่ อำเภอภาอั่น รัฐกระเหรี่ยงประเทศพม่าชาติภูมิ  เกิดในหมู่บ้านแหม่งกะเล่ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลเกินควรจากอำเภอภาอั่น รัฐกระเหรี่ยง ประเทศพม่า บรรพชามงคล เมื่อเจริญวัยได้ ๑๓ ปี ได้บรรพชาในสำนักของหลวงพ่ออู้โอ้งแข่ง คือ ท่านอาจารย์ อริยวังสะ แห่งวัดหมั้ยบ่อง อ. ภาอั่น รัฐกระเหรี่ยง ประเทศพม่า อุปสมบทมงคล ต่อมาในปี จ.ศ.๑๓๐๐๑ ตรงกับวันมาฆบูชา วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำในปี พ.ศ.๒๔๘๒ เวลา ๘.๐๐น. อันเป็นมงคล ท่านอาจารย์ ปัณฑิตะ เจ้าอาวาสวัดจินดาลี เมืองสะทุ่ง (สุวรรณภูมิ ) ประเทศพม่า เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ให้การอุปสมบท ภายในบัณฑสีมาในวัดแหมงกะเล่ ประเทศพม่า การศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ตั้งใจ ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่หมั้ยบ่อง เมืองภาอั่น วัดธรรมเมทนี เมืองสะทุง และในสำนักเรียนวัด (ราชวิหาร) เม็นจอง ปั้นแบ้ตั้น เมืองมอกะแหม่ง ผลงาน เมื่อท่านได้รับการศึกษาอย่างดีแล้ว เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรมได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหมั้ยบ่องนั้นแลให้การศึกษาด้านพระปริยัติแด่ศาสนายกทั้งหลาย เป็นเวลานกว่า ๔ ปีตั้งแต่ปี จ.ศ.๑๓๐๔ พ.ศ. ๒๔๘๖ เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เมื่อท่านอุปสมบทได้ ๗ พรรษาแล้วหลวงพ่อท่านอาจารย์โอภาสะแห่งวัดแม่สอดเป็นผู้นิมนต์ให้ท่านเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมบำเพ็ญปัญญาบารมีที่วัดใหญ่แม่สอดในปี จ.ศ.๑๓๐๘ , พ.ศ. ๒๔๙๐ ดูแลวัดแม่ตาว ต่อมาในปี จ.ศ. ๑๓๑๑ พ.ศ. ๒๔๙๓ เจ้าอาวาสองค์แรกหลวงพ่อท่านอาจารย์กสระ (ซึ่งมาจาก ) เมืองต๋องกี ตอนใต้รัฐฉาน ประเทศพม่าได้มรณะภาพไป ท่านอาจารปัณฑิจจะจำพรรษาอยู่ที่ วัดใหญ่แม่สอด ย้ายเข้ามายังวัดแม่ตาวแห่งนี้ ได้เป็นผู้ดูแลอารามแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ปรวชานผู้ค้ำจุนวัดในกาลนั้นคือครอบครัวของนายซองมวล ครอบครัวของนายจ้อนันตี ครอบครัว ของนายขั้มกู่ และครอบครัวของนายสำแก้งเสนาสนะและสิ่งปลูกสร้าต่างๆ ภายในวัด เรือนพระอุโบสถ ,เสนาสนะหลังแรก , ตึกมหาวิหาร๒ ชั้น หลังที่ ๑ , หอฉัน , อาคารเข้าพรรษา ,เสนาสินะหลังที่ ๒  ตึกสงฆ์กุฏิของท่านอุตตระ , ตึกมหาวิหารที่ ๒, เป็นต้นเสนาสนะต่างๆ-เรือนพระเจดีย์มีนวังคะเจดีย์ ,อาคารมหามุนีพระพุทธรูปจำลอง , อาคารพระพุทธรูปปางเทศนาธรรมจักร,พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ , มณฑปจำลองรอยพระพุทธบาท , อาคารพระพทธรูปปางเสด็จลงจาดาวดึงส์เทวโลก , อาคารพระพุทธรูปปางสมปราถนา,วิมานพระอุปคุตต์เถระเป็นต้นและซุ้มต่างๆ ได้สร้างเสร็จสิ้นภายในระยะ๔๐ปี นับแต่ปี จ.ศ.๑๓๑๘ พ.ศ.๒๕๐๐เต็มเป็นต้นมา นำโดยท่านหลวงพ่อปัณฑิจจะฯ

(แผ่นที่2)

ทายกทายิกาบางพวก มาบริจาคทรัพย์สินแด่หลวงพ่อเพื่อสร้างสาสนูปโภคต่าง ฯ ด้วยตนเองสำหรับผู้มีศรัทธาทั้งหลายไม่สามารถมาบริจาคทรัพย์สิน แด่หลวงพ่อด้วยตนเองได้ทางวัดจัดผู้รับบริจาคแทนหลวงพ่อไว้คือ

พวกรับแทนเหล่านั้นทุกคนนุ่งห่มผ้าขาว สัญจรไปยังหมู่บ้านและนิคมต่างๆ เพื่อรับการบริจาคแทนหลวงพ่อในทุก ๆวันโกน, ทรัพย์สินนี่พวกเขานำมานั้น ในแต่ละปีรวมยอดรวมยอดราคา ได้เงินนับเป็นหมื่น

       ผู้รับแทนเหล่านี้ จัดตั้งขึ้นโดยนายหมองปุ๊ + นางมะขินตั้งอยู่หมู่บ้านแม่ตาว อำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก

         ด้วยการชักชวนของผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ การสร้างคัมภีร์ประวัติการสิบทอด

พระพุทธศาสนาของหลวงพ่อนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปด้วยดี ฉะนั้นจึงได้บันทึก

ไว้เป็นอุปการีบุคคล ณ ที่นี้ด้วย ชนเหล่านั้นได้แก่

(๑) นายทนแจ่ง (กำนันแม่ตาว)  (๒) นายอะเเจ่ง (อุปัฏฐาก)

(๓) นายโก่โจ้ง    (ผ.ญ.แม่ตาว)   ( ๔) นายขั้มโน่ง ผ.อ. ธ.ร.)

(๕) นายโค้ง        (อาจารย์ ร.ร)    ( ๖) นายลำเล่ะ (ผู้นำหมู่บ้าน)

(๗)นายอะเอ้       (อุปัฎฐาก )      (๘) นายยุน……… เองเปนโช

ประวัติหมู่บ้านแม่ตาว และวัดแม่ตาว

เมื่อครั้งอดีตร้อยปีกว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐เตม (จ.ศ. ๑๒๑๘) ชาวปะโจมีนายบขนชำมุงเป็นผู้นำกับสหาย ๑๗ นาย อยู่ในภูมิประเทศตะวันออกตอนใต้ของรัฐฉาน ในเมืองต๋องกีของประเทศพม่าเป็นพวกพานิชย์กรมีโค เป็นพาหนะบรรทุก ได้เดินทางถึงเมืองเมียวดีแล้วเข้ามาสู่แดนไทยใกล้คลองแม่ตาวได้ริเริ่ม สร้างหมู่บ้านแม่ตาวนี้ไว้ ๆแม่ตาวหมายถึง สาหร่ายทะเล คลองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสาหร่ายทะเล คลองนั้นจำเรียกกันว่า แม่ตาว อาศัยการเรียกภูมิประเทศนี้ว่าแม่ตาว หมู่บ้านนั้นจะเห็นได้ว่ามีน้ำไหลมาจากทางทิศใต้ผ่านถนน ใหญ่เอเซียลงทิศเหนือเข้าสู่คลองใหญ่

                                           

 (แผ่นที่3)

เเม้เมื่อครั้งก่อตั้งหมู่บ้านแม่ตาวนี้ใหม่ๆ นั้นคลองเเม่ตาวนี้ยังกว้างขวางอยู่ก็จริงแต่ที่เห็นอยู่นี้มีไม่เท่าเดิม ตามกระเเสเล่าขันกันมาได้ทราบรายนามผู้ริเริ่มสร้างหมู่บ้าน นี้เป็นรายมีนามดังต่อไปนี้คือ

(๑) นายชำมุง (ผู้นำ) (๒) นายขุนจองมุน (อยู่เมืองปังหลง) (๓) นายบุนจำปิ๊

(บ้านตุ้นตี-ต๊องกี) (๔ )นายบขุนลันเหงี่ยว (๕ ) นายหมองจี้ (๖) นายสันแก้ง

(๗) นายยขุนปัญญา (๘ )นายชุนกาวิ (ต๊องกี) (๙) นายขุนจองกู่

(๑๐) นายขุนอา (๑๑) นายขนเตม (๑๒) นายชุมช

(๑๓) นายขุนต้อนันติ (๑๔) นายขุนม้องโหง่ย เป็นอาทิ

กาลเวลาผ่านไป ๑๐ปีกว่าบ้านเรือนก็เริ่ม มีมากขึ้นนับได้ประมาณ ๓๐ กว่าหลังคาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ คิดกันว่าจะเคลื่อนย้ายก็กะไรอยู่จึงปรึกษากันนิมนต์ท่านอาเกสระจำพรรษาอยู่ในเมืองต๋องกีตอนใต้ของรัฐฉานประเทศสหภาพพม่า มาแล้วได้สร้างอารามแห่งนี้ถวายท่าน ตอนนั้นคือ พ.ศ. ๒๔๑๐ ตรงกับ จ.ศ.๑๒๒๘

ท่านอาจาร์ยเกสระองค์เดียวเท่านั้นยังมีพระภิกษุชาวปะโอหลายรูปมีพระกัลยพระปุ๊เป็นอาที่ได้ช่วยกันรักษาอีกแรงหนึ่งด้วย หลังจากปฐมมาจารย์ พระเกสระและพากพวกมรณภาพไปแล้วต่อมาในปี จ.ศ.๑๓๑๑ ทางศรัทธาญาติโยมได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ปัณฑิจจะ ซึ่งจำพรรษาอยู่เข้ามาเป็นผู้ดูแลวัดอารามแห่งนี้จนทุกวันนี้

หลังจากที่ท่านอาจารย์ปันฑิจจะมาเป็นผู้ดูแลอารามแห่งนี้ได้ ๗ ปี พระมหากษัตริย์ภูมิพลอดุลย์เดชพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ได้พระราชทานพระฉายาลักษณ์แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแด่ท่านในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เต็มตรงกับ จ.ศ. ๑๓๑๘ เห็นช่วงวลาที่ท่านปัจฑิจจะมาใหม่ๆภายในวัดวาอารามแห่งนี้มีเพียงกุฏิหลังล็กๆหลังเดียวเพื่ออยู่อาศัยสละขันธสีมาที่สมมติขึ้นไว้ในคลองแม่ตาวเพื่อทำสังฆกรรมต่าง ๆ อาคารต่าง ๆ ยังไม่มีเลยในอารามแห่งนี้หลังจากที่ท่านปัณฑิจจะมาเป็นจ้าอาวาสดูแลวัดนี้ได้ไม่ช้านานก็เริ่มปลูกสร้างพระเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาและอารามิกต่าง ๆ หลวงพ่อท่านปัณฑิจจะเจ้าอาวาสองค์นี้มีความชื่นชอบในด้านวัฒนธรรมประเพณีทางพม่า เช่นทรงบองพระเจดีย์ พระวิหาร กุฎิ และอาคารต่าง ๆ ท่านสั่งให้สร้างทำตามเช่นนั้นด้วย

ที่กำลังสร้างคัมภีร์ประวัติในบัดนี้ท่านหลวงพ่อมีอายุได้ถึง ๘๒ ปีพอดี ขอให้หลวงพ่อมีอายุยืนนานปราศจากโรคภยันตรายทั้งปวงสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้โพงประการทั้งสิ้นทอญ ๆ.

(แผ่นที่4)

กายกทายิกาสิ่งก่อสร้างภายในวัด นางอี้ทองกับนางอี้ขั้มผู้ค้าเพชรพลอยอ กรุงเทพมหานคร กับญาติพี่น้อง ร่วมกันทรัพย์สิน ๒ แสนกว่าบาทสร้างถวายเสนาสะหลังที่ ๒ ไว้ๆ นายขุนแหลงกับภรรยานางตั้นฉวยบุตรี นางจาลุนี นางนวรัตน์ ทั้งครอบครัว ร่วมกันบริจาคทรัพย์สิน ประมาณ ๒ แสนกว่าบาท สร้างถวายกุฎีท่านสามเณรอุตตระเถระไว้ ฯครอบครัวนางเอ้จี และครอบครัว นายปุ๊ + นางขินตั้น บ้านแม่ตาว ร่วมกันบริจาทรัพย์สินประมาณ ๒ แสนกว่าบาท ถวายตึกมหาวิหาร ๒ ชั้นหลังที่ ๒ ไว้ , มีศรัทธาญาติ โยมอื่น ๆ ร่วมกันบริจาคเงินประมาณสามแสนกว่าบาทรวมถวายด้วย  อาคารพระพุทธรูปปางเทศนาธรรมจักรนั้น ครอบครัวนายสันโข่ + นางละบ้านแม่ตาว ได้บริจาคทรัพย์สิน สร้างถวายไว้ ๆ นางเต้งฉวย และศรัทธาญาติโยมอื่น ๆ บ้านแม่ตาว ร่วมกันสร้างถวาย พระพุทธรูป ๒๘ องค์ และอาคาร ด้วยงบประมาณสามแสนกว่าบาท ๆ

พระพุทรรูปปางไสยยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่นี้ พระโกสัลละศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้นำญาติ โยมผู้มี ศรัทธา ร่วมทั้งครอบครัวน่ายสันโธ่ + นางละและผู้มีศรัทธาอื่น ๆในบ้านแม่ตาวด้วย ร่วมกันบริจากทรัพย์ สินรวมห้าล้านกว่าบาทสร้างถวายไว้.ฯชายไทยนามว่า นายอภิชัยภิญโญ มวลมิ่ง ผู้นี้ได้สร้างถวายพระพุทธรูปหินอ่อน ไว้ที่ทรงประทบอยู่ใกล้พุทธไสยยาสน์ ปาทเจดีย์ ถือ รอยพระพุทธบาทจำลอง และมณฑปนี้ สร้างถวายโดย ครอบครัวนายฉวยแหล่ง นาง โอ้ง กับครอบครัวนายสันโธ่ นางละบ้านแม่ตาวและผู้มีศรัทธาอื่นฯรวมกัน ฯพระพุทธรูปปางสมปรารถนาและอาคาร นั้น สร้างถวายเป็นเจ้าภาพ คือครอบครัวนายอุ่น นางมะเอ้ กับผู้มีศรัทธาอื่น ๆรวมงินบริจาคสามล้านกว่าบาท ฯส่วนวิมานและพระอุปคตตันี้ นายก๊อกญ่ะนางทุ่นเตน บ้านแม่ตาว สร้างถวายฯ  โพธิปัคคิยะเจดีย์องค์นี้ พระท่านอาจารย์กิตติ ศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้ชักชวนปวงประชาผู้ในบุญและนายหยันแหน่งอ่อง นางสันสันมีต นางจันทา พร้อมบุตรธิดา ได้รวมกันบริจาคทรัพย์สินสถาปนาขึ้น นพพุทธเจดีย์ๆองค์นี้ นายละภู นางหงจี่ และบุตรีหมิ้หมี้กับสามี นายขิ่นซีน พร้อมลูกหลานเป็นเจ้าภาพสร้างสถาปนาชั้น , ส่วนที่เป็นเสนาสนะที่อาศัย  และกุฏิต่าง ๆในอารามแห่งนี้ทายกทายิกกาต่าง ๆ พร้อมใจกันได้สร้างถวายไว้

เที่ยววัดไทยวัฒนาราม

Scroll to Top